เคมีอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
1. เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)
                 หมายถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเกี่ยวกับชนิด สมบัติ การสังเคราะห์ และปฏิกิริยาของสารประกอบอินทรีย์
                สารอินทรีย์หมายถึงสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ทั้งที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และจากการสังเคราะห์ ยกเว้นสารต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์
  • ออกไซด์ของคาร์บอน เช่น CO2
  • เกลือคาร์บอเนต ( ) และไฮโดรเจนคาร์บอเนต ( ) เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3)
  • เกลือคาร์ไบด์ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2)
  • เกลือไซยาไนด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) , โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN)
  • เกลือไซยาเนต เช่น แอมโมเนียมไซยาเนต (NH4OCN)
  • สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนเพียงชนิดเดียว เช่น เพชร แกรไฟต์ ฟุลเลอรีน

                Friedrich Wöhlerจากการศึกษาสารประกอบทั่ว ๆ ไป มักจะมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ นักเคมีในยุคก่อนเชื่อว่าสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบต้องมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น และเรียกสารเหล่านี้ว่า สารประกอบอินทรีย์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ.1828) ฟรีดริช เวอเลอร์ นักเคมีชาวเยอรมันสามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้จากสารอนินทรีย์ โดยสังเคราะห์ยูเรียซึ่งเป็นสารอินทรีย์จากการเผาแอมโมเนียมไซยาเนต (NH4OCN) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ ดังสมการ NH4OCN(s) ----------> H2NCONH2(s)
                ต่อมามีนักเคมีที่สามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้มากขึ้น จึงทำให้แนวคิดเกี่ยวกับสารอินทรีย์เปลี่ยนไปปัจจุบันจากการศึกษาสารประกอบทั่ว ๆ ไป มักจะมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ นักเคมีในยุคก่อนเชื่อว่าสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบต้องมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น และเรียกสารเหล่านี้ว่า สารประกอบอินทรีย์


2. พันธะของคาร์บอน
                เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 4 ของคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) ได้ 4 พันธะ ซึ่งอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) พันธะคู่ (double bond) หรือพันธะสาม (triple bond) ก็ได้ การเกิดพันธะของคาร์บอนสามารถเกิดได้ 3 แบบ ดังนี้
                พันธะเดี่ยว 4 พันธะ

                พันธะคู่ 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 2 พันธะ

                พันธะสาม 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 1 พันธะ

                ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอน - คาร์บอน เรียงจากน้อยไปมาก ดังนี้

                พลังงานพันธะ900 600 300 kJ/molอะตอมอื่นๆ ที่มาร่วมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเกิดพันธะโคเวเลนซ์กับคาร์บอนในสารอินทรีย์ ธาตุที่พบมากที่สุด คือ ไฮโดรเจน (H) สำหรับธาตุอื่นๆ นอกจาก H แล้วยังมี ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), ออกซิเจน (O), กำมะถัน (S) และแฮโลเจน (F, Cl, Br, I) ตัวอย่างพันธะโคเวเลนต์ระหว่างคาร์บอนกับธาตุอื่นๆ ที่พบบ่อยในสารอินทรีย์ ดังนี้

ดังนั้นเมื่อเขียนสูตรสารอินทรีย์และมีอะตอมข้างบนนี้เข้ามาเกี่ยวข้องต้องพิจารณาจำนวนพันธะให้ถูกต้อง
กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid)
                กรดคาร์บอกซิลิก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H และ O โดยมีหมู่ฟังก์ชันคือหมู่คาร์บอกซิล (carboxyl : หรือ ) มีสูตรทั่วไปเป็น RCOOH หรือ หรือ RCO2H หรือ CnH2nO2เมื่อ R เป็นหมู่แอลคิล หมู่แอริล หรือไฮโดรเจน
การเรียกชื่อกรดคาร์บอกซิลิก
ชื่อสามัญ
                1) ชื่อสามัญของกรดคาร์บอกซิลิก มักจะตั้งตามชื่อของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของที่พบกรดชนิดนั้น เช่น กรดฟอร์มิก (formic acid) มาจากคำว่า fomica ในภาษาละตินที่มีความหมายว่า “มด” กรดแอซีติก (acetic acid) มาจากคำว่า acetumในภาษาละตินที่มีความหมายว่า “เปรี้ยว”2. การเรียกชื่อสามัญของกรดคาร์บอกซิลิกจะใช้อักษรกรีก เช่น แอลฟา (a) บีตา (b) และแกมมา (g) ระบุตำแหน่งของคาร์บอนที่ต้อกับหมู่คาร์บอกซิลตำแหน่งที่ 1 , 2 และ 3 ตามลำดับ เช่น
                ดังนั้น กรดแอลฟาไฮดรอกซี จึงหมายกรดคาร์บอกซิลกที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่ออยู่กับอะตอมของคาร์บอนที่ตำแหน่งแอลฟา
สูตรโครงสร้าง ชื่อสามัญ
HCOOH กรดฟอร์มิก (Formic acid)
CH3COOH กรดแอซีติก (Acetic acid)
CH3CH2COOH กรดโพรพิโอนิก (Propionic acid)
CH3CH2CH2COOH กรดบิวทิลิก (Butylic acid)
CH3CH2CH2CH2COOH กรดเพนทิลิก (Pentylic acid)
กรดฟอร์มิก (Formic acid)
การเรียกชื่อระบบ IUPAC
                การเรียกชื่อกรดคาร์บอกซิลิกที่เป็นโซ่ตรง ให้เรียกตามจำนวนอะตอมคาร์บอน แล้วลงท้ายเสียงเป็น –อาโนอิก (–anoic acid) เช่น

กรดแอซีติก (กรดเอทาโนอิก)
กรดแอซีติก
กรดโพรพาโนอิก


3. สูตรโครงสร้างของสารอินทรีย์
                การเขียนสูตรของสารประกอบอินทรีย์

                สูตรโมเลกุลเป็นสูตรที่บอกให้ทราบว่าในสารประกอบนั้นประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม ซึ่งไม่เป็นที่นิยมเขียนสูตรชนิดนี้ เช่น CH4, C6H14, C6H6O เป็นต้น สูตรโครงสร้างเป็นสูตรที่บอกให้ทราบว่าในโมเลกุลของสารประกอบนั้น ประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่อะตอม แต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกันอย่างไร มีหลายแบบ ดังนี้
                สูตรโครงสร้างแบบเส้น (Expanded form) สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed form) สูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม (Bond - line form) เป็นการเขียนสูตรโครงสร้างโดยใช้เส้นขีด(-)แทนอิเล็กตรอน 2 ตัว หรือ 1 คู่ในการเขียนแสดงพันธะโคเวเลนต์ เช่น สูตรโครงสร้างแบบเส้น

                สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed form)เป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่แสดงเส้นพันธะเดี่ยวระหว่างไฮโดรเจนกับคาร์บอน โดยจะใช้วงเล็บย่อตัวที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน เช่น

                สูตรโครงสร้างแบบเส้นและมุม (Bond-line form) เป็นสูตรโครงสร้างที่ไม่แสดงธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน แต่จะแสดงเส้นพันธะระหว่างคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น


4. ไอโซเมอริซึม
                ไอโซเมอริซึม(Isomerism) และ ไอโซเมอร์(Isomer)ไอโซเมอริซึมคือ ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน ทำให้มีสมบัติต่างๆ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลวแตกต่างกัน ไอโซเมอร์คือ สารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกันหลักการพิจารณาว่าสารเป็นไอโซเมอร์กันหรือไม่
                ขั้นที่ 1 พิจารณาจำนวนธาตุว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันให้นับจำนวนอะตอมของแต่ละชนิดว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันทุกธาตุแสดงว่ามีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน ให้พิจารณาขั้นที่ 2 ต่อไป
                ขั้นที่ 2 พิจารณาว่ามีโครงสร้างที่ต่างกันหรือไม่ ถ้ามีโครงสร้างต่างกันแสดงว่าเป็นไอโซเมอร์กัน ในการพิจารณาโครงสร้างว่าเหมือนกันหรือต่างกันเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะสูตรโครงสร้างที่นักเรียนเห็นไม่ใช่โครงสร้างที่แท้จริง แต่เป็นสูตรโครงสร้างที่เขียนเพื่อความสะดวก เป็นโครงสร้างเพียง 2 มิติ แต่ความเป็นจริง เป็นโครงสร้าง 3 มิติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสูตรโครงสร้างที่เห็นว่าต่างกันจึงอาจเหมือนกันได้ ในการพิจารณาใช้หลัก ดังนี้"ให้ถือว่าโครงสร้างทั้งหลายเป็นเส้นลวดที่สามารถตัด พลิก หมุนได้ (เฉพาะส่วนที่เกิดพันธะเดี่ยว) แต่ห้ามตัดต่อ พลิก หรือหมุนแล้วทำให้เหมือนกันแสดงว่าเป็นโครงสร้างเดียวกัน"
หลักการเขียนไอโซเมอร์
                สารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนอะตอมประมาณ 3-4 อะตอมขึ้นไปสามารถเกิดไอโซเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบต่างๆ กัน ถ้าคาร์บอนอะตอมมากขึ้นก็จะมีจำนวน ไอโซเมอร์เพิ่มขึ้น แต่จะมีจำนวนเท่าไรไม่มีสูตรที่จะใช้ในการคำนวณที่แน่นอนและจะทราบจำนวนไอโซเมอร์ของสารอินทรีย์ได้ต้องเขียนและพิจารณาเองโดยมีหลักการเขียน ดังนี้
                1. การเขียนไอโซเมอร์ต้องเริ่มจากไอโซเมอร์ที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวที่สุดก่อน
                2. ลดจำนวนคาร์บอนอะตอมทีละอะตอมลงในสายยาวของคาร์บอนที่ต่อกัน โดยนำมาต่อเป็นสาขาที่ตำแหน่งต่าง ๆ
                3. ต้องระวังพิจารณาว่ารูปร่างโครงสร้างที่เขียนซ้ำหรือไม่ การเขียนก็ให้เขียนเฉพาะคาร์บอนอะตอมก่อนแล้วจึงเติมไฮโดรเจนที่หลัง แล้วเช็คดูว่าสูตรตรงกับที่โจทย์ให้หรือไม่\ชนิดของไอโซเมอร์

Structural Isomer คือ ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน

Chain Isomerism

Positional Isomerism

Functional Isomerism

                StereoIsomerismคือ ปรากฏการณ์ที่สารมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน สูตรโครงสร้างเหมือนกันแต่มีการจัดเรียงตัวของอะตอมหรือหมู่อะตอมในที่ว่าง (space) ต่างกัน


GeometricIsomerism

Optical Isomerism



5. หมู่ฟังก์ชัน
หมู่ฟังก์ชัน (Functional group = หมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะ)
                หมู่ฟังก์ชันคือหมู่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุที่แสดงสมบัติเฉพาะของสารอินทรีย์ชนิดหนึ่งๆ เช่น CH3OH (เมทานอล) CH3CH2OH (เอทานอล) ซึ่งต้องเป็นสารอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ เพราะสารแต่ละชนิดต่างก็มีหมู่ -OH เป็นองค์ประกอบ แสดงว่าหมู่ -OH เป็นหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์
                HCOOH (กรดเมทาโนอิก) และ CH3COOH (กรดเอทาโนอิก) ซึ่งต่างจากกรดอินทรีย์ เพราะสารทั้งสองต่างก็มีหมู่ -COOH เป็นองค์ประกอบ แสดงว่าหมู่ -COOH เป็นหมู่ฟังก์ชันของกรดอินทรีย์
                อนึ่งสารอินทรีย์โดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอะตอมไฮโดรคาร์บอนหรือหมู่อะตอมอื่นๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นหมู่ฟังก์ชัน ซึ่งแสดงสมบัติเฉพาะของสารอินทรีย์นั้น และเป็นส่วนที่มีความว่องไวทางเคมี ดังรูป

                ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดกับสารอินทรีย์มักจะเกิดตรงส่วนของหมู่ฟังก์ชัน เช่น

                ตารางหมู่ฟังก์ชันบางชนิดและสารประกอบที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นองค์ประกอบ

ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
                สารประกอบไฮโดรคาร์บอน(Hydrocarbon compounds)หมายถึง สารประกอบที่มีเฉพาะคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบเท่านั้น
ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

                อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic hydrocarbon)เป็นสารประกอบที่คาร์บอนในโมเลกุลต่อกันเป็นโซ่เปิด (open chain) ได้แก่ แอลเคน แอลคีน และแอลไคน์
                อะลิไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (Alicyclic hydrocarbon)เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนโดยที่คาร์บอนในวงแหวนเกาะกันด้วยพันธะเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีพันธะคู่หรือพันธะสามอยู่บ้าง เช่น

                อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Aromatic hydrocarbon)เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวงหกเหลี่ยมเป็นพันธะคู่สลับกับพันธะเดี่ยว โดยสารที่เป็นอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนจะต้องมีโครงสร้างแบบนี้เป็นวงพื้นฐาน โดยตัวที่มีขนาดเล็กที่สุดจะเรียกว่าเบนซีน (Benzene) เช่น



6. การเรียกชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
                1.การเรียกชื่อสามัญ(Common name) ใช้เรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ๆ และโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เช่น กรดฟอร์มิก (HCOOH) กรดแอซีติก (CH3COOH) ซึ่งการเรียกชื่อสามัญจะตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดของสารประกอบ หรือตามชื่อของผู้ค้นพบ เมื่อการค้นพบสารประกอบอินทรีย์มากขึ้นเรื่อย ๆ การเรียกชื่อสาทัญอาจทำให้เกิดความสับสน
                2.การเรียกชื่อระบบIUPACเป็นระบบการเรียกชื่อสารประกอบที่นักเคมีได้จัดระบบขึ้นในปี พ.ศ.2237 (ค.ศ.1892) เรียกระบบนี้ว่า International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC จะเรียกตามจำนวนอะตอมโดยใช้จำนวนนับในภาษากรีก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 โครงสร้างหลัก ส่วนที่ 2 คำลงท้าย ส่วน 3 คำนำหน้า
                1) โครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด โดยกำหนดการเรียกชื่อดังนี้

                2) คำลงท้าย เป็นส่วนที่เติมท้ายชื่อของโครงสร้างหลักเพื่อแสดงว่าสารประกอบอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชัน เช่น alkane ลงท้ายด้วย –ane หรือ alcohol ลงท้ายด้วย –ol เป็นต้น4) คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก จะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอม หรือกลุ่มอะตอมใดมาเกาะบ้าง กี่หมู่ และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาเกาะให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด
                3.2 ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
                สารประกอบไฮโดรคาร์บอนสามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
  • แอลเคน(Alkane)
  • แอลคีน(Alkene)
  • แอลไคน์(Alkyne)
  • อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(Aromatic hydrocarbon)


7. แอลกอฮอล์
                เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นอนุพันธ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งซึ่ง H ถูกแทนที่ด้วยหมู่ฟังก์ชัน –OH มีสูตรทั่วไปเป็น R–OH มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group ; –OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน การเรียกชื่อแอลกอฮอล์
                ใช้เรียกแอลกอฮอล์โมเลกุลเล็ก ๆ ที่โครงสร้างโมเลกุลไม่ซับซ้อน เรียกชื่อหมู่แอลคิล (R) ที่ต่ออยู่กับหมู่ –OH ก่อน แล้วลงท้ายด้วยแอลกอฮอล์

ชื่อระบบIUPAC
                1. เลือกโครงสร้างหลักที่มีคาร์บอนต่อกันยาวที่สุด และมีหมู่ –OH อยู่ด้วย
                2. บอกตำแหน่ง –OH ด้วยเลขที่มีค่าน้อยที่สุด
                3. ชื่อโครงสร้างหลักให้เรียกตามจำนวนอะตอม C แล้วลงท้ายเสียงเป็น –อานอล (–anol)

สมบัติของแอลกอฮอล์
สมบัติทางกายภาพ
                เมื่อแอลกอฮอล์ละลายน้ำ หมู่ –OH ในแอลกอฮอล์จะไม่แตกตัวเป็นไฮดรอกไซด์ไอออน (OH–) เช่นเดียวกับ OH–ในโลหะไฮดรอกไซด์ เช่น NaOH เนื่องจากพันธะระหว่างหมู่ –OH กับหมู่แอลคิลในแอลกอฮอล์เป็นพันธะโคเวเลนต์ แต่พันธะระหว่างหมู่ OH–กับโลหะไอออนเป็นพันธะไอออนิก โมเลกุลของแอลกอฮอล์มีทั้งส่วนที่มีขั้วคือหมู่ –OH และส่วนที่ไม่มีขั้วคือหมู่แอลคิล

1.จุดเดือด
                จุดเดือดของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นมีผลให้มวลโมเลกุลมีค่าสูงขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงสูงขึ้นด้วย เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีทั้งแรงลอนดอนและแรงดึงดูดระหว่างขั้ว เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล นอกจากนี้หมู่ –OH สามารถเกิด พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) ยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของแอลกอฮอล์ได้
การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำ
การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของแอลกอฮอล์
                แอลกอฮอล์จึงมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคนที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเท่ากัน เนื่องจากแอลเคนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงมีเฉพาะแรงลอนดอนเท่านั้น
2.การละลายน้ำ
                แอลกอฮอล์ที่โมเลกุลมี C 1–3 อะตอม ละลายน้ำได้ดี เนื่องจากแอลกอฮอล์มีหมู่ –OH ซึ่งเป็นส่วนที่มีขั้วในโมเลกุลและเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ จึงทำให้แอลกอฮอล์ละลายน้ำ แต่เมื่อมีจำนวนอะตอม C มากขึ้น จะละลายน้ำได้น้อยลง เนื่องจากเมื่อโมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนที่ไม่มีขั้วมีมากขึ้น สภาพขั้วของโมเลกุลจะอ่อนลง ส่งผลให้ละลายน้ำได้น้อยลง นอกจากนี้การละลายน้ำของแอลกอฮอล์ยังขึ้นอยู่กับรูปร่างโมเลกุล ตำแหน่ง และจำนวนหมู่ –OH ด้วย
สมบัติทางเคมี
1.ปฏิกิริยาการเผาไหม้
                 แอลกอฮอล์สามารถติดไฟได้ดี ไม่มีเขม่าและควัน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ดังสมการ CH3CH2OH(l) + 3 O2(g)--->2 CO2(g)+ 3 H2O(g)
2.ปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว
                แอลกอฮอล์ไม่เกิดปฏิกิริยากับ NaHCO3จึงไม่แสดงสมบัติเป็นกรด แต่สามารถเกิดปฏิกิริยากับโลหะที่ว่องไว (Active metal) เช่น Na โดยโลหะจะเข้าไปแทนที่อะตอมของ H ในหมู่ –OH จะได้แก๊สไฮโดรเจน ดังสมการ 2CH3CH2–OH(l)+2 Na(g)-->2 CH3CH2–ONa(l) + H2(g)
สมบัติและปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์บางชนิด
1.เมทานอล(Methanol)
                เป็นแอลกอฮอล์ที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนน้อยที่สุด เตรียมได้จากการเผาไม้ที่อุณหภูมิสูงในภาวะที่ปราศจากอากาศ ในอุตสาหกรรมเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง โดยมีโลหะออกไซด์ เช่น Fe2O3, ZnO / Cr2O3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ CO + H2-------------> CH3OH
                เมทานอลเป็นพิษต่อร่างกาย ถ้าเข้าสู่ร่างกายจะถูกออกซิไดส์กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (HCHO) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตาบอด หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
                ประโยชน์ของเมทานอล นำมาใช้เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นเชื้อเพลิง เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก ยา และสารประกอบอินทรีย์ชนิดอื่น เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์
2.เอทานอล(ethanol)
                เป็นแอลกอฮอล์อีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ เตรียมไก้จากการหมักน้ำตาลที่ได้จากผลไม้ หรือแป้งจากธัญพืชในที่ปราศจากออกซิเจน เอนไซม์จากยีสต์หรือแบคทีเรียจะช่วยเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ C6H12O6 -----> 2 CH3CH2OH +2CO2
                เอทานอลที่ได้จากหมักน้ำตาลกับยีสต์นี้ใช้บริโภคในรูปของไวน์ เบียร์ และเหล้า ถ้าแต่บริโภคมาก ๆ จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย ตับ และเกิดการเสพติด
                เอทานอล แหล่งพลังงานใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
                ประโยชน์ของเอทานอล
                1) ใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิตน้ำหอมและยา
                2) ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรค
                3) เอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ในอัตราส่วนเอทานอล 1 ส่วน กับน้ำมันเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารถยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอล 20% เรียกว่า E-20 สำหรับรถบางรุ่นสามารถใช้น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอลถึง 85% เรียกว่า E-85



อ้างอิง : SciMath : โดยคุณอนุสิษฐ์ เกื้อกูล ลิขสิทธิ์โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
         เรื่อง : เคมีอินทรีย์ สารชีวโมเลกุลและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม